วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์แสงของพืช

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 3
เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองเรื่องความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของพืช
2. อธิบายความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. ต้นผักบุ้งที่เพาะแล้ว 1 กระป๋อง
2. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 15 % 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. น้ำแป้ง 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
5. แอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร
6. น้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
7. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
8. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 อัน
9. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด
10. หลอดทดลองขนาดเล็ก 1 หลอด
11. หลอดหยด 1 อัน
12. ถ้วยกระเบื้อง 1 อัน
13. ปากคีบ 1 อัน
14. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
และตะแกรงลวด 1 ชุด
วิธีทดลอง
1. นำกระป๋องต้นผักบุ้งไปวางไว้ในกล่องทึบ 1 คืน
2. นำกระป๋องต้นผักบุ้งออกจากกล่องทึบ
3. ใส่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 50 % ประมาณ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกล่องพลาสติกเบอร์ 1 แล้วนำถุงพลาสติกไปใส่ไว้ในถุงพลาสติกใบหนึ่ง
4. แบ่งผักบุ้งในกระป๋องออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใช้ถุงพลาสติกใสใบหนึ่งสวมใบผักบุ้งส่วนหนึ่งให้โน้มลงในถุงพลาสติกที่มีกล่องพลาสติกบรรจุ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์อยู่ข้างในแล้วรัดปากถุง ดังรูป
5. นำกระป๋องผักบุ้งไปวางกลางแดดประมาณ 3 ชั่วโมง
6. นำใบผักบุ้งจากทั้ง 2 ถุง ถุงละสองใบ ทำเครื่องหมายแต่ละใบว่าเด็ดมาจากถุงใด แล้วนำมาสกัดคลอโรฟิลล์ และทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน สังเกตและบันทึกผล


รูปที่ 7.1 แสดงขั้นตอนการทดลองความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กับการสังเคราะห์แสงของพืช
แหล่งที่มา (ดร.บัญชา แสนทวี.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ :100)







บันทึกผลการทดลอง
สิ่งที่นำมาทดสอบ ผลการทดสอบกับสารละลายไอโอดีน
1.ใบผักบุ้งจากถุงที่มีสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์

2. ใบผักบุงจากถุงที่ไม่มีสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์

สรุปผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..











แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม


1. การใช้ถุงพลาสติกครอบใบผักบุ้งแล้วรัดปากถุงนั้นมีจุดประสงค์อะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงพลาสติกทั้งสองแตกต่างกันหรือไม่เพราะเหตุใด
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. ใบผักบุ้งจากถุงใดที่มีสีม่วงแกมน้ำเงินเมื่อทำการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. ผลการสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................







แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..
วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
…………………………………………………………………...

จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………….
สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1.พืชสร้างอาหารได้เองโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง อาหารดังกล่าวคืออะไร
ก. แป้ง
ข. ไขมัน
ค. เกลือแร่
ง. น้ำตาลกลูโคส
2. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
ก. ออกซิเจน + คาร์บอนไดออกไซด์ แสง + กลูโคส
ข. คาร์บอนไดออกไซด์ + แสง ออกซิเจน + กลูโคส
ค. ออกซิเจน + กลูโคส น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์
ง. คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ ออกซิเจน + กลูโคส + น้ำ
3. ส่วนใดของพืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. ใบ
ข. ราก
ค. ดอก
ง. ทุกส่วนของพืชที่มีสีเขียว
4. น้ำตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
ก. C6H12O6 ข. C12H24O12
ค. C12H22O11 ง. C6H12O5
5. พืชจะสังเคราะห์แสงในเวลาใด
ก. มีแสง ข. มีแสงอาทิตย์
ค. ในเวลากลางวัน
ง. ทั้งกลางวันและกลางคืน 6. น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นมาเป็นน้ำตาลชนิดใด
ก. กลูโคส
ข. ซูโครส
ค. มอลโทส
ง. กาแล็กโทส
7. การเก็บต้นผักบุ้งไว้ในกล่องทึบ1คืน เพื่ออะไร
ก. เพื่อให้ไม่ถูกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ข. เพื่อให้น้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นแป้งก่อนจะนำมาทดสอบ
ค.เพื่อให้แป้งสลายตัวไปเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
ง.เพื่อให้แป้งในใบหมดไปเมื่อไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
8.สารใดต่อไปนี้ใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ก. สารละลายโซเดียมไนเตรต
ข. สารละลายโซเดียมกลูโคเมต
ค. สารละลายเข้มข้นของน้ำตาล
ง. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
9. ข้อใด ไม่ใช่ วัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. น้ำ ข. แสง
ค. ก๊าซออกซิเจน ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
10. พืชสามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นอะไรสะสมไว้บ้าง
ก. แป้ง ข. ไขมัน
ค. น้ำตาลโมเลกุลคู่ ง. ถูกทุกข้อ

การสังเคราะห์ด้วยแสง

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 1
เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองเรื่องความสำคัญของคลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
2. อธิบายความสำคัญของคลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล
3. ทักษะการทดลอง
4. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

วัสดุอุปกรณ์
1. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
2. บีกเกอร์ 1 ใบ
3. หลอดทดลอง 2 หลอด
4. ปากคีบ 1 อัน
5. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
6. หลอดหยด 1 อัน
7. ถ้วยกระเบื้อง 1 ใบ
8. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
9. เอทิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10. น้ำแป้ง 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
11. ใบชบาด่าง 1 ใบ
วิธีทดลอง
1. นำใบชบาด่างที่ถูกแสงแดดประมาณ 3 ชั่วโมงมาวาดรูปเพื่อแสดงส่วนที่เป็นสีขาว
และสีเขียว
2. ใส่น้ำประมาณ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบิกเกอร์ต้มให้เดือดใส่ใบชบาด่างลงในบิกเกอร์ที่มี น้ำเดือดต้มต่อไปนาน 1 นาที
3. ใช้ปากคีบคีบใบชบาด่างที่ต้มแล้วใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ที่มีแอลกอฮอล์พอท่วมใบแล้ว นำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที จนกระทั่งใบมีสีซีดสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้น
4. นำใบชบาด่างในข้อ 3 ไปล้างด้วยน้ำเย็นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5. นำใบชบาด่างที่ล้างแล้ววางในถ้วยกระเบื้องแล้วหยดด้วยสารละลายไอโอดีนให้ทั่วทั้งใบทิ้งไว้ ประมาณครึ่งนาที
6. นำใบชบาด่างไปล้างน้ำสังเกตการเปลี่ยนแปลงแล้ววาดรูปเปรียบเทียบกับรูปใบชบาด่างที่วาดไว้ก่อนการทดลอง พร้อมทั้งบันทึกผล
7. ใส่น้ำแป้งประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก หยดสารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด ลงในหลอดทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
หมายเหตุ
1. ใบชบาด่างที่ใช้ในการทดลองต้องเป็นใบที่เด็ดมาในวันทำการทดลอง
2. แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟ ดังนั้นในการต้มใบชบาด่างในแอลกอฮอล์ จึงต้องให้
ความร้อนผ่านน้ำ
3. ในการใช้หลอดหยดดูดสารละลายไอโอดีน ควรระวังอย่าให้สารละลายไอโอดีน
ถูกผิวหนัง













บันทึกผลการทดลอง
ภาพใบชบาด่างก่อนการทดลอง





ตารางบันทึกผล
สิ่งที่นำมาทดสอบ ผลการทดสอบที่สังเกตได้
ส่วนสีเขียวของใบชบาด่าง

ส่วนสีขาวของใบชบาด่าง

น้ำแป้ง


สรุปผลการทดลอง
.……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….





แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม



1. สารสีเขียวในใบพืชจะละลายได้ในสารใด
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. เราใช้สารละลายไอโอดีนเพื่อทดสอบอะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. เมื่อสกัดเอาคลอโรฟิลล์ออกจากส่วนใบพืชที่มีสีเขียวแล้วทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. เมื่อทดสอบส่วนของใบพืชที่มีสีขาวด้วยสารละลายไอโอดีนแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
5. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..
วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
…………………………………………………………………...

จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………….
สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………




แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1.รากกล้วยไม้สดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว
ก. เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้จะดูดน้ำที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช
ข. เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้มีสารสีเขียวที่เรียกว่าคลอโรฟิลล์อยู่ภายในเซลล์
ค.ไม่เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้ทำหน้าที่ยึดเกาะให้กล้วยไม้ทรงตัวอยู่ได้เท่านั้น
ง. ไม่เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้อยู่ในดินไม่สามารถรับแสงสว่างได้

2. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.คลอโรฟิลล์เป็นสารประกอบพวกโปรตีน
ข. คลอโรฟิลล์มีธาตุแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ
ค. พืชจะสร้างคลอโรฟิลล์ไม่ได้ถ้าขาดธาตุMg ,Fe,Mn และแสงแดด
ง. คลอโรฟิลล์ละลายได้ในตัวทำละลายบางชนิด เช่น น้ำ เอทานอล อะซิโตน

3. หน้าที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงก็คือ
ก. จับ คาร์บอนไดออกไซด์
ข.จับพลังงาน
ค. สร้างน้ำตาลกลูโคส
ง. รีดิวซ์คาร์บอนออกไซด์ 4.พืชที่มีสีอื่นที่ได้สีเขียว เช่น ใบหัวใจสีม่วงจะมีคลอโรฟิลล์อยู่หรือไม่
ก. มีเพราะสามารถสร้างอาหารได้เอง
ข. มีเพราะเป็นพืชชนิดหนึ่ง
ค. ไม่มีเพราะไม่เห็นสีเขียว
ง. ไม่มีเพราะไม่ใช่พืชที่แท้จริง

5. ในการทดลองเรื่องคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช ใช้ใบชบาด่างมาต้มในน้ำเดือดแล้วจึงนำไปใส่ในแอลกอฮอล์ที่ร้อน อยากทราบว่าทำไมจะต้องต้มใบชบาด่างในน้ำเดือด
ก. เพื่อฆ่าเซลล์ที่ใบ
ข.เพื่อสกัดคลอโรฟิลล์
ค. เพื่อฆ่าเชื้อโรค
ง. ถูกทุกข้อ

6. การนำใบชบาด่างที่มีสีเขียว – ขาว มาทดสอบหาแป้งในใบเป็นการพิสูจน์ว่า
ก. แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงด้วยแสงของพืช
ข. ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือ แป้ง
ค. คลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช
ง. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์ของแสงของพืช


7. แหล่งสร้างอาหารของพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นในโครงสร้างใดจึงจะสมบูรณ์
ก. คลอโรฟิลล์
ข.คลอโรพลาสต์
ค. ใบ
ง. ลำต้น

8.สารละลายไอโอดีนสามารถทดสอบ
อะไรได้ผล
ก.แป้งฝุ่นทาตัว
ข. แป้งมันสำปะหลัง
ค. แป้งข้าวเจ้า
ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค

9. การทดสอบในข้อ 8 จะได้สีอะไรเกิดขึ้น
ก. สีน้ำเงิน
ข. สีน้ำตาล
ค. สีเขียว
ง. สีฟ้า


10. ความแตกต่างระหว่างคลอโรฟิลล์กับ
คลอโรพลาสต์ คือขอ้ใด
ก. คลอโรพลาสต์เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์
ข. คลอโรพลาสต์ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง
แต่คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ค. คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสง
แต่คลอโรพลาสต์ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ง. คลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบของ
คลอโรพลาสต์