วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์แสงของพืช

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 3
เรื่อง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองเรื่องความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสง
ของพืช
2. อธิบายความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. ต้นผักบุ้งที่เพาะแล้ว 1 กระป๋อง
2. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 15 % 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. น้ำแป้ง 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
5. แอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร
6. น้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
7. ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
8. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 อัน
9. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด
10. หลอดทดลองขนาดเล็ก 1 หลอด
11. หลอดหยด 1 อัน
12. ถ้วยกระเบื้อง 1 อัน
13. ปากคีบ 1 อัน
14. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลม
และตะแกรงลวด 1 ชุด
วิธีทดลอง
1. นำกระป๋องต้นผักบุ้งไปวางไว้ในกล่องทึบ 1 คืน
2. นำกระป๋องต้นผักบุ้งออกจากกล่องทึบ
3. ใส่สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 50 % ประมาณ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในกล่องพลาสติกเบอร์ 1 แล้วนำถุงพลาสติกไปใส่ไว้ในถุงพลาสติกใบหนึ่ง
4. แบ่งผักบุ้งในกระป๋องออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใช้ถุงพลาสติกใสใบหนึ่งสวมใบผักบุ้งส่วนหนึ่งให้โน้มลงในถุงพลาสติกที่มีกล่องพลาสติกบรรจุ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์อยู่ข้างในแล้วรัดปากถุง ดังรูป
5. นำกระป๋องผักบุ้งไปวางกลางแดดประมาณ 3 ชั่วโมง
6. นำใบผักบุ้งจากทั้ง 2 ถุง ถุงละสองใบ ทำเครื่องหมายแต่ละใบว่าเด็ดมาจากถุงใด แล้วนำมาสกัดคลอโรฟิลล์ และทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน สังเกตและบันทึกผล


รูปที่ 7.1 แสดงขั้นตอนการทดลองความสำคัญของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กับการสังเคราะห์แสงของพืช
แหล่งที่มา (ดร.บัญชา แสนทวี.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ :100)







บันทึกผลการทดลอง
สิ่งที่นำมาทดสอบ ผลการทดสอบกับสารละลายไอโอดีน
1.ใบผักบุ้งจากถุงที่มีสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์

2. ใบผักบุงจากถุงที่ไม่มีสารละลาย
โซเดียมไฮดรอกไซด์

สรุปผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..











แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม


1. การใช้ถุงพลาสติกครอบใบผักบุ้งแล้วรัดปากถุงนั้นมีจุดประสงค์อะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงพลาสติกทั้งสองแตกต่างกันหรือไม่เพราะเหตุใด
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. ใบผักบุ้งจากถุงใดที่มีสีม่วงแกมน้ำเงินเมื่อทำการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. ผลการสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................







แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..
วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
…………………………………………………………………...

จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………….
สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1.พืชสร้างอาหารได้เองโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง อาหารดังกล่าวคืออะไร
ก. แป้ง
ข. ไขมัน
ค. เกลือแร่
ง. น้ำตาลกลูโคส
2. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
ก. ออกซิเจน + คาร์บอนไดออกไซด์ แสง + กลูโคส
ข. คาร์บอนไดออกไซด์ + แสง ออกซิเจน + กลูโคส
ค. ออกซิเจน + กลูโคส น้ำ + คาร์บอนไดออกไซด์
ง. คาร์บอนไดออกไซด์ + น้ำ ออกซิเจน + กลูโคส + น้ำ
3. ส่วนใดของพืชที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. ใบ
ข. ราก
ค. ดอก
ง. ทุกส่วนของพืชที่มีสีเขียว
4. น้ำตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
ก. C6H12O6 ข. C12H24O12
ค. C12H22O11 ง. C6H12O5
5. พืชจะสังเคราะห์แสงในเวลาใด
ก. มีแสง ข. มีแสงอาทิตย์
ค. ในเวลากลางวัน
ง. ทั้งกลางวันและกลางคืน 6. น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นมาเป็นน้ำตาลชนิดใด
ก. กลูโคส
ข. ซูโครส
ค. มอลโทส
ง. กาแล็กโทส
7. การเก็บต้นผักบุ้งไว้ในกล่องทึบ1คืน เพื่ออะไร
ก. เพื่อให้ไม่ถูกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ข. เพื่อให้น้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นแป้งก่อนจะนำมาทดสอบ
ค.เพื่อให้แป้งสลายตัวไปเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
ง.เพื่อให้แป้งในใบหมดไปเมื่อไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง
8.สารใดต่อไปนี้ใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ก. สารละลายโซเดียมไนเตรต
ข. สารละลายโซเดียมกลูโคเมต
ค. สารละลายเข้มข้นของน้ำตาล
ง. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
9. ข้อใด ไม่ใช่ วัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก. น้ำ ข. แสง
ค. ก๊าซออกซิเจน ง. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
10. พืชสามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นอะไรสะสมไว้บ้าง
ก. แป้ง ข. ไขมัน
ค. น้ำตาลโมเลกุลคู่ ง. ถูกทุกข้อ

การสังเคราะห์ด้วยแสง

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 1
เรื่อง คลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองเรื่องความสำคัญของคลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้
2. อธิบายความสำคัญของคลอโรฟิลล์กับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล
3. ทักษะการทดลอง
4. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

วัสดุอุปกรณ์
1. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 1 ชุด
2. บีกเกอร์ 1 ใบ
3. หลอดทดลอง 2 หลอด
4. ปากคีบ 1 อัน
5. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
6. หลอดหยด 1 อัน
7. ถ้วยกระเบื้อง 1 ใบ
8. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
9. เอทิลแอลกอฮอล์ 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร
10. น้ำแป้ง 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
11. ใบชบาด่าง 1 ใบ
วิธีทดลอง
1. นำใบชบาด่างที่ถูกแสงแดดประมาณ 3 ชั่วโมงมาวาดรูปเพื่อแสดงส่วนที่เป็นสีขาว
และสีเขียว
2. ใส่น้ำประมาณ 40 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบิกเกอร์ต้มให้เดือดใส่ใบชบาด่างลงในบิกเกอร์ที่มี น้ำเดือดต้มต่อไปนาน 1 นาที
3. ใช้ปากคีบคีบใบชบาด่างที่ต้มแล้วใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ที่มีแอลกอฮอล์พอท่วมใบแล้ว นำไปต้มในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที จนกระทั่งใบมีสีซีดสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้น
4. นำใบชบาด่างในข้อ 3 ไปล้างด้วยน้ำเย็นสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
5. นำใบชบาด่างที่ล้างแล้ววางในถ้วยกระเบื้องแล้วหยดด้วยสารละลายไอโอดีนให้ทั่วทั้งใบทิ้งไว้ ประมาณครึ่งนาที
6. นำใบชบาด่างไปล้างน้ำสังเกตการเปลี่ยนแปลงแล้ววาดรูปเปรียบเทียบกับรูปใบชบาด่างที่วาดไว้ก่อนการทดลอง พร้อมทั้งบันทึกผล
7. ใส่น้ำแป้งประมาณ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในหลอดทดลองขนาดเล็ก หยดสารละลายไอโอดีน 2 – 3 หยด ลงในหลอดทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
หมายเหตุ
1. ใบชบาด่างที่ใช้ในการทดลองต้องเป็นใบที่เด็ดมาในวันทำการทดลอง
2. แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟ ดังนั้นในการต้มใบชบาด่างในแอลกอฮอล์ จึงต้องให้
ความร้อนผ่านน้ำ
3. ในการใช้หลอดหยดดูดสารละลายไอโอดีน ควรระวังอย่าให้สารละลายไอโอดีน
ถูกผิวหนัง













บันทึกผลการทดลอง
ภาพใบชบาด่างก่อนการทดลอง





ตารางบันทึกผล
สิ่งที่นำมาทดสอบ ผลการทดสอบที่สังเกตได้
ส่วนสีเขียวของใบชบาด่าง

ส่วนสีขาวของใบชบาด่าง

น้ำแป้ง


สรุปผลการทดลอง
.……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….





แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม



1. สารสีเขียวในใบพืชจะละลายได้ในสารใด
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. เราใช้สารละลายไอโอดีนเพื่อทดสอบอะไร
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. เมื่อสกัดเอาคลอโรฟิลล์ออกจากส่วนใบพืชที่มีสีเขียวแล้วทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. เมื่อทดสอบส่วนของใบพืชที่มีสีขาวด้วยสารละลายไอโอดีนแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
5. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..
วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
…………………………………………………………………...

จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………….
สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
แบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………




แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1.รากกล้วยไม้สดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับข้อความดังกล่าว
ก. เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้จะดูดน้ำที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช
ข. เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้มีสารสีเขียวที่เรียกว่าคลอโรฟิลล์อยู่ภายในเซลล์
ค.ไม่เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้ทำหน้าที่ยึดเกาะให้กล้วยไม้ทรงตัวอยู่ได้เท่านั้น
ง. ไม่เห็นด้วยเพราะรากกล้วยไม้อยู่ในดินไม่สามารถรับแสงสว่างได้

2. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.คลอโรฟิลล์เป็นสารประกอบพวกโปรตีน
ข. คลอโรฟิลล์มีธาตุแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ
ค. พืชจะสร้างคลอโรฟิลล์ไม่ได้ถ้าขาดธาตุMg ,Fe,Mn และแสงแดด
ง. คลอโรฟิลล์ละลายได้ในตัวทำละลายบางชนิด เช่น น้ำ เอทานอล อะซิโตน

3. หน้าที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงก็คือ
ก. จับ คาร์บอนไดออกไซด์
ข.จับพลังงาน
ค. สร้างน้ำตาลกลูโคส
ง. รีดิวซ์คาร์บอนออกไซด์ 4.พืชที่มีสีอื่นที่ได้สีเขียว เช่น ใบหัวใจสีม่วงจะมีคลอโรฟิลล์อยู่หรือไม่
ก. มีเพราะสามารถสร้างอาหารได้เอง
ข. มีเพราะเป็นพืชชนิดหนึ่ง
ค. ไม่มีเพราะไม่เห็นสีเขียว
ง. ไม่มีเพราะไม่ใช่พืชที่แท้จริง

5. ในการทดลองเรื่องคลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช ใช้ใบชบาด่างมาต้มในน้ำเดือดแล้วจึงนำไปใส่ในแอลกอฮอล์ที่ร้อน อยากทราบว่าทำไมจะต้องต้มใบชบาด่างในน้ำเดือด
ก. เพื่อฆ่าเซลล์ที่ใบ
ข.เพื่อสกัดคลอโรฟิลล์
ค. เพื่อฆ่าเชื้อโรค
ง. ถูกทุกข้อ

6. การนำใบชบาด่างที่มีสีเขียว – ขาว มาทดสอบหาแป้งในใบเป็นการพิสูจน์ว่า
ก. แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงด้วยแสงของพืช
ข. ผลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงคือ แป้ง
ค. คลอโรฟิลล์กับการสร้างอาหารของพืช
ง. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์ของแสงของพืช


7. แหล่งสร้างอาหารของพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นในโครงสร้างใดจึงจะสมบูรณ์
ก. คลอโรฟิลล์
ข.คลอโรพลาสต์
ค. ใบ
ง. ลำต้น

8.สารละลายไอโอดีนสามารถทดสอบ
อะไรได้ผล
ก.แป้งฝุ่นทาตัว
ข. แป้งมันสำปะหลัง
ค. แป้งข้าวเจ้า
ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค

9. การทดสอบในข้อ 8 จะได้สีอะไรเกิดขึ้น
ก. สีน้ำเงิน
ข. สีน้ำตาล
ค. สีเขียว
ง. สีฟ้า


10. ความแตกต่างระหว่างคลอโรฟิลล์กับ
คลอโรพลาสต์ คือขอ้ใด
ก. คลอโรพลาสต์เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์
ข. คลอโรพลาสต์ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง
แต่คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ค. คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ สังเคราะห์ด้วยแสง
แต่คลอโรพลาสต์ทำหน้าที่สะสมอาหาร
ง. คลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบของ
คลอโรพลาสต์

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การออสโมซีส

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 2
เรื่อง การออสโมซีส


คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของคำว่า การออสโมซีสได้
2. ทดลองการเกิดการออสโมซีสได้
3. ยกตัวอย่างและอธิบายการออสโมซีสในชีวิตประจำวันได้

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง

วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. สารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40 % 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. น้ำหมึกแดง 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. ยางรัด 2 เส้น
5. กระดาษเซลโลเฟน ขนาด 15 ซ.มx15ซ.ม 1 แผ่น
6. หลอดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซ.ม ยาว 20 ซ.ม. 1 อัน
7. กล่องพลาสติกเบอร์ 1 1 ใบ
8. บิกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
9. หลอดฉีดยา 1 อัน
10.ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด



วิธีทดลอง
1. ใช้กระดาษเซลโลเฟนชุบน้ำให้เปียกวางบนกล่องพลาสติกเบอร์ 1 แล้วใส่สารละลาย
น้ำตาลทรายเข้มข้น 40 % จำนวน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตรแล้วรวบให้เป็นถุง
2. จุ่มหลอดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตรลงไปในถุงลึกประมาณ
3 เซนติเมตรโดยไม่ให้มีฟองอากาศทั้งในถุงและในแก้ว
3. จุ่มถุงสารละลายน้ำตาลลงในบิกเกอร์ที่มีน้ำบรรจุอยู่โดยให้ตำแหน่งที่รัดปากถุง
อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อยแล้วยึดหลอดแก้วด้วยที่จับหลอดทดลองติดไว้กับขาตั้ง
4. ทำเครื่องหมายแสดงระดับน้ำในหลอดแก้วไว้จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่อไปประมาณ 5 นาทีแล้วบันทึกผลการสังเกต
5. ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 แต่เปลี่ยนน้ำในบิกเกอร์เป็นน้ำหมึกสีแดง




รูปที่ 3.2.2 แสดงขั้นตอนการทดลองการออสโมซีส
( ดร. บัญชา แสนทวี .หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์.2546 :115 )










แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..

วันที่……………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง

การทดลอง การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้

แช่ถุงเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40%ในน้ำ

แช่ถุงเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40%ในน้ำหมึกแดง



สรุปผลการทดลอง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


สวัสดีครับ หลังจากเรียนบทเรียนเรื่อง การออสโมซีส
แล้วพอจะเข้าใจเนื้อหาหรือยัง ลองทบทวนความรู้อีกครั้งโดยการ
จัดทำใบงานของกลุ่ม ช่วยกันคิดนะครับ
(ถ้ายังไม่เข้าใจโปรดอ่านใบความรู้ทบทวนอีกครั้ง)

ใบงานที่ 1 เรื่อง การออสโมซีส

1. น้ำและหมึกแดงซึมผ่านกระดาษเซลโลเฟนเข้าไปในถุงสารละลายน้ำตาลได้หรือไม่สังเกตได้จากอะไร
.............................................................................................................................................................
2. นักเรียนคิดว่าอนุภาคของน้ำในบิกเกอร์และน้ำหมึกสีแดงในบิกเกอร์อนุภาคน้ำที่ใดมีมากกว่ากัน ……………………………………………………………………………………………………….
3.ถ้าต้องการให้ระดับสารละลายน้ำตาลในหลอดแก้วสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็วนักเรียน
จะออกแบบการทดลองอย่างไร ………………………………………………………………………………………………..…… 4.น้ำและแร่ธาตุเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ขนรากด้วยวิธีใด
……………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………….
5.ให้ยกตัวอย่างการออสโมซีสในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรอีกบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………
6. นักเรียนคิดว่าการใส่ปุ๋ยพืชทีละมากๆ น่าจะเกิดผลดีหรือผลเสีย อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7. นักเรียนคิดว่าขนรากจะดูดซึมแร่ธาตุเข้าไปด้วยวิธีการเดียวกับน้ำหรือไม่ อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
8. การทดลองนี้สรุปได้ว่าอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบย่อย( 10 คะแนน )

1. การออสโมซีส ต่างจากการแพร่อย่างไร
ก.ออสโมซีสเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเยื่อบางๆ
ข.การแพร่เกิดจากสารเคลื่อนที่จากโมเลกุลมากไปสู่ที่มีโมเลกุลน้อย
ค.การแพร่ไม่ต้องผ่านเยื่อบางๆก็ได้แต่การออสโมซีสต้องผ่านเยื่อบางๆ
ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการแพร่
ก. การละลายของสี
ข. การได้กลิ่นน้ำหอม
ค. ลูกเหม็นไล่แมลงสาบ
ง. การไหลของน้ำไปตามท่อ
3. การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งละมากๆ ในกระถางต้นไม้ จะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. ต้นไม้ได้อาหารเลี้ยงลำต้นเต็มที่
ข. ต้นไม้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว
ค. เป็นการให้แร่ธาตุแก่พืชอย่างถูกวิธี
ง. ต้นไม้จะเหี่ยวเนื่องจากขาดน้ำมาเลี้ยง
4. เมื่อนักเรียนเปิดฝาขวดน้ำหอมทิ้งไว้สักครู่ แล้วเข้าไปในห้องจะได้กลิ่นน้ำหอมกระจายไปทั่วห้อง กระบวนที่ทำให้น้ำหอมกระจายไปทั่วห้องเป็นกระบวนการใด
ก. การแพร่
ข. การระเหยแห้ง
ค. การระเหิด
ง. การออสโมซีส 5. การที่แม่ค้าเอาน้ำพรมผลไม้ ( เงาะ ) ทำให้ผลไม้สดอยู่เสมอ กระบวนการที่ทำให้ผลไม้สดอยู่เสมอคือข้อใด
ก. การแพร่
ข. การซึมผ่าน
ค. การระเหย
ง. การออสโมซีส
ใช้ชุดการทดลองเกี่ยวกับการแพร่ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 3 – 4


1.หย่อนเกล็ดด่างทับทิม2. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม3. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม
3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม.3 เกล็ด ขนาด 0.5 ม.ม. 3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม
ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.

6. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะทั้งสาม จะเกิดการแพร่จนอยู่ในภาวะสมดุล นักเรียนคิดว่าเกล็ดด่างทับทิม ในภาชนะใดจะอยู่ในภาวะสมดุลเร็วที่สุดและภาชนะใดช้าที่สุด
ก. 3 , 1
ข. 1 , 2
ค. 3 , 2
ง. 1 , 3





7. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะใบที่ 2 ใช้เวลาในการแพร่จนถึงภาวะสมดุลต่างจากภาชนะใบที่ 1 เนื่องจากปัจจัยใด
ก. ขนาดของเกล็ดด่างทับทิม
ข. จำนวนของเกล็ดด่างทับทิม
ค. ความเข้มข้นของสารละลาย
ง. อุณหภูมิของสารละลาย
สถานการณ์ บรรจุสารละลายน้ำตาลทราย เกลือแกงและน้ำตาลกลูโคสเข้มข้นอย่างละ 30 % ลงในถุงกระดาษเซลโลเฟน ผูกปากถุงให้แน่น แล้วนำไปแช่น้ำดังรูปเป็นเวลา 20 นาที



8. ถุงกระดาษเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายชนิดใดจะพองออกเนื่องจากน้ำออสโมซีสเข้าสู่ถุง
ก. สารละลายน้ำตาลและสารละลายเกลือแกง
ข. สารละลายน้ำตาลและสารละลายกลูโคส
ค. สารละลายเกลือแกงและสารละลายกลูโคส
ง. ทั้ง 3 ชนิด


9. สารละลายในถุงใดที่ผ่านเยื่อกระดาษเซลโลเฟนออกมาภายนอกได้
ก. สารละลายน้ำตาลทราย
ข. สารละลายเกลือแกง
ค. สารละลายกลูโคส
ง. สารละลายเกลือแกงและกลูโคส

10. การคายน้ำของพืชในรูปของไอน้ำที่บริเวณปากใบจะใช้วิธีใด
ก. การออสโมซีส
ข. การระเหย
ค. การแพร่
ง. กัตเตชั่น

แบบฝึกปฏิบัตกิจกรรมเรื่องการแพร่และการออสโมซีส

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 1
การแพร่ของสาร


แนวปฏิบัติ ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายการเกิดกระบวนการแพร่ได้
2.ยกตัวอย่างการแพร่ที่พบในชีวิตประจำวัน
ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
2. เกล็ดด่างทับทิม (โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต) 3-4 เกล็ด
3. น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีทดลอง
1. ใส่น้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. ใส่เกล็ดด่างทับทิม 2-3 เกล็ดลงในน้ำ สังเกตและบันทึกผล
3. สังเกตสีของน้ำหลังจากใส่เกล็ดด่างทับทิมแล้วทุกนาที เป็นเวลา 5 นาที บันทึกผล

รูปที่ 3.1 แสดงการทดลองการแพร่ของสาร
( ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์.2544 :19 )


แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม
แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..

วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น………….
จุดประสงค์
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง

ช่วงเวลาที่สังเกต ลักษณะที่สังเกตได้
1.ขณะที่เกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตตกลงไปในน้ำ

2. เมื่อเกล็ดโพแทสเซียม
เปอร์แมงกาเนตตกถึงพื้นก้นบิกเกอร์จนกระทั่งเวลาผ่านไป 5 นาที


สรุปผลการทดลอง
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
ลองทำใบงานดูหน่อยนะครับ….



สวัสดีครับ หลังจากเรียนบทเรียนเรื่อง การแพร่ของสาร
แล้วพอจะเข้าใจเนื้อหาหรือยัง ลองทบทวนความรู้อีกครั้งโดยการ
จัดทำใบงานของกลุ่ม ช่วยกันคิดนะครับ
(ถ้ายังไม่เข้าใจโปรดอ่านใบความรู้ทบทวนอีกครั้ง)

ใบงานที่ 1 การแพร่ของสาร

1. เมื่อเกล็ดด่างทับทิมตกลงไปในน้ำเกิดอะไรขึ้น
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. เมื่อเกล็ดด่างทับทิมลงไปถึงก้นถ้วยเกิดอะไรขึ้น
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. การเคลื่อนที่ของอนุภาคของด่างทับทิมมีทิศทางแบบใด
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการแพร่
ก. การละลายของสี
ข. การได้กลิ่นน้ำหอม
ค. ลูกเหม็นไล่แมลงสาบ
ง. การไหลของน้ำไปตามท่อ
2. การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งละมากๆ ในกระถางต้นไม้ จะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. ต้นไม้ได้อาหารเลี้ยงลำต้นเต็มที่
ข. ต้นไม้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว
ค. เป็นการให้แร่ธาตุแก่พืชอย่างถูกวิธี
ง.ต้นไม้จะเหี่ยวเนื่องจากขาดน้ำมาเลี้ยง
3. การแพร่ของสารเข้าสู่เซลล์ ขึ้นอยู่กับสิ่งใด
ก. ชนิดของตัวทำละลาย
ข. ขนาดมวลของอนุภาค
ค. ความหนา-บางของผนังเซลล์
ง.ความแตกต่างของความเข้มข้นของอนุภาค
4. เมื่อนักเรียนเปิดฝาขวดน้ำหอมทิ้งไว้สักครู่ แล้วเข้าไปในห้องจะได้กลิ่นน้ำหอมกระจายไปทั่วห้อง กระบวนที่ทำให้น้ำหอมกระจายไปทั่วห้องเป็นกระบวนการใด
ก. การแพร่
ข. การระเหยแห้ง
ค. การระเหิด
ง. การออสโมซีส

ใช้ชุดการทดลองเกี่ยวกับการแพร่ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 5 – 6
1. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม2. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม3. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม
3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม. 3 เกล็ด ขนาด 0.5 ม.ม.3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม.
ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.
5. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะทั้งสาม จะเกิดการแพร่จนอยู่ในภาวะสมดุล นักเรียนคิดว่าเกล็ดด่างทับทิม ในภาชนะใดจะอยู่ในภาวะสมดุลเร็วที่สุดและภาชนะใดช้าที่สุด
ก. 3 , 1
ข. 1 , 2
ค. 3 , 2
ง. 1 , 3
6. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะใบที่ 2 ใช้เวลาในการแพร่จนถึงภาวะสมดุลต่างจากภาชนะใบที่ 1 เนื่องจากปัจจัยใด
ก. ขนาดของเกล็ดด่างทับทิม
ข. จำนวนของเกล็ดด่างทับทิม
ค. ความเข้มข้นของสารละลาย
ง. อุณหภูมิของสารละลาย


7. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
ก. การแพร่มีได้ทั้งสามสถานะ
ข. ออสโมซสเป็นการแพร่ชนิดหนึ่ง
ค. ออสโมซีสไม่ใช่การแพร่แต่เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อบางชนิด
ง. การแพร่เกิดจากบริเวณที่มีสารเข้มข้นไปยังบริเวณที่สารเจือจางกว่า
8.น้ำและน้ำตาลกลูโคส สารใดจะแพร่ได้เร็วกว่ากัน
ก. น้ำเพราะอนุภาคเล็กกว่า
ข. น้ำตาลกลูโคสเพราะขนาดอนุภาคเล็กกว่า
ค. น้ำ เพราะไหลไปได้รวดเร็วมาก
ง. น้ำตาลกลูโคส เพราะมีพลังงานสูงกว่า
9. สารใดไม่สามารถแพร่ผ่านกระดาษเซลโลเฟนได้
ก. น้ำตาลทรายและเกลืองแกง
ข. น้ำตาลกลูโคส และด่างทับทิม
ค. น้ำและน้ำตาลกลูโคส
ง. ด่างทับทิม และน้ำตาลทราย
10. การแพร่ของสารข้อใดถูกต้อง
ก. การแพร่ คือการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณ ที่มีความเข้มข้นของสารน้อย
ข. ถ้าอุณหภูมิลดลง การแพร่จะเกิดอย่างรวดเร็ว
ค. สารที่มีอนุภาคเล็กจะแพร่ได้ช้ากว่าสารที่มีขนาดใหญ่
ง. อนุภาคไม่เกี่ยวข้องกับอนุภาคของสาร

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Diffusion and Osmosis

การแพร่และการออสโมซีส

การแพร่และการออสโมซีส
การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
.แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยไม่ใช้พลังงานจากเซลล์ ( passive transport )ได้แก่
การแพร่ ( diffusion ) การแพร่ธรรมดา ( simple diffusion )
การแพร่โดยอาศัยตัวพา ( facilitated diffusion )ออสโมซิส ( osmosis )อิมบิบิชั่น ( Imbibition )
การแลกเปลี่ยนอิออน ( Ion exchange )
1.2 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้พลังงานจากเซลล์ ( active transport )
2. การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มี 3 ลักษณะ คือ
2.1 การนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ ( Endocytosis ) มี 2 วิธี คือ
Pinocytosis
Phagocytosis
3. การนำสารออกนอกเซลล์ ( Exocytosis )
4. การนำสารผ่านเซลล์ ( Cytopempsis )
ออสโมซิส (osmosis)
1. น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมติกต่ำสุด เนื่องจากไม่มีตัวถูกละลายใดๆ เจือปน
2. สารละลายที่มีความเข้มข้นสูง ( ตัวถูกละลายมีจำนวนมาก ) จะมีแรงดันออสโมติกสูง ส่วนสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ ( ตัวถูกละลายมีจำนวนน้อย ) จะมีแรงดันออสโมติกต่ำ
3. น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกต่ำ ไปยังบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกสูงต่ำ สูง

การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีหลายวิธี
1. การแพร่ ( diffusion ) การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรืออิออน โดยอาศัยพลังงานจลน์ในตัวเอง จะมีทิศทางการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ จนในที่สุดบริเวณทั้งสองจะมีความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งเรียกว่า สมดุลของการแพร ่ ซึ่งอนุภาค ของสารยังมีการเคลื่อนที่อยู่ แต่ความเข้มข้น หรือ หนาแน่น โดยเฉลี่ยจะเท่ากันทุกบริเวณ
การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรือไอออนของสารจะมีการกระทบกัน เป็นผลให้โมเลกุลกระจายออกไปทุกทิศทางในตัวกลาง เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian movement )

ตัวอย่างการแพร่ของสาร
การแพร่ในของแข็ง เช่น เกล็ดด่างทับทิม และเกล็ดโปตัสเซียมไดโครเมตแพร่ในวุ้น
การแพร่ในของเหลว เช่น โมเลกุลน้ำตาล อิออนของเกลือแพร่ในน้ำ
การแพร่ในก๊าซ เช่น การแพร่ของโมเลกุลน้ำหอมในอากาศ การแพร่ของก๊าซ หรือควันไฟในอากาศ
ปัจจัยที่ควบคุมอัตราการแพร่ของสาร
1. ความเข้มข้นของสารที่แพร่
สารที่มีความเข้มข้นสูง จะแพร่ไปสู่ที่มีความเข้มข้นต่ำ
2. อุณหภูมิ
การเพิ่มอุณหภูมิ จะให้การแพร่เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
3. ความดัน
การเพิ่มความดัน จะทำให้โมเลกุล หรือไอออนของสารเคลื่อนที่
4. ขนาดและน้ำหนักของอนุภาคที่แพร่
ถ้าอนุภาคขนาดเล็กและเบา จะมีอัตราการแพร่เร็วกว่าสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่และหนัก
5. ความหนาแน่นของตัวกลาง
สารที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่แพร่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน อัตราการแพร่จะไม่เท่ากัน
เช่น การแพร่ในอากาศจะมีอัตราการแพร่สูงกว่าในน้ำ เพราะน้ำมีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ
6. ความสามารถในการละลายของสารที่แพร่
สารที่ละลายได้ดี จะมีอัตราการแพร่สูงกว่าสารที่ละลายได้น้อย

2. ออสโมซิส ( Osmosis )
การแพร่ของ ของเหลว หรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน ( differentially permeablemembrane)
โดยทิศทางการแพร่เป็นไปตามหลักการแพร่ทั่วๆ ไป คือ “ น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำมาก ( สารละลายเจือจาง ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำน้อย ( สารละลายเข้มข้น )
จนกระทั่งถึงจุดสมดุล เมื่ออัตราการแพร่ผ่านเยื่อเลือกผ่านไปและกลับ มีค่าเท่าๆ กัน ดังนั้นออสโมซิสจึงถือได้ว่าเป็นการแพร่อย่างหนึ่ง
ออสโมมิเตอร์ ( osmometer ) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงการเกิดออสโมซิส และสามารถใช้วัดแรงดันที่เกิดจากขบวนการออสโมซิสได้อีก แรงดันออสโมติก ( osmotic pressure ) คือ ความดันที่ทำให้เกิดออสโมซิสของน้ำ- แรงดันดังกล่าวศึกษาได้จากชุดออสโมมิเตอร์อย่างง่าย
การที่มีของเหลวเคลื่อนที่ขึ้นไปในหลอดกาแฟ
เนื่องจากน้ำในบีกเกอร์แพร่ผ่านเยื่อไข่เข้าไปในฟองไข่ แรงดันภายในที่เพิ่มขึ้นจึงดันของเหลว ให้เคลื่อนเข้าไปในหลอด
แรงดันที่เกิดขึ้นภายในอันเนื่องจาก น้ำแพร่เข้าไปนี้เทียบได้กับแรงดันเต่งภายในฟองไข่
ถ้าไม่มีการเจาะเปลือก เยื่อที่เปลือกไข่จะพองเป่งมากขึ้น เพราะมีแรงดันเต่งมาก ในการที่เจาะเปลือกไข่จึงวัดแรงดันเต่งได้จากระดับของเหลวที่ถูกดันขึ้นไปในหลอด แรงดัน นี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสภาวะสมดุลของการแพร่ ซึ่งอาจใช้เวลานานมาก และจะต้องต่อหลอดให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงระยะหนึ่ง ระดับของเหลวในหลอดจะคงที่ ในสภาวะเช่นนี้ แรงดันเต่งจะมีค่าสูงสุด

น้ำจากภายนอกแพร่เข้าสู่ภายใน เท่ากับ น้ำจากภายในแพร่ออกสู่ภายนอก
- แรงดันเต่งมีค่าสูงสุด = แรงดันออสโมติก
- แรงดันเต่ง ( Turgor pressure ) เป็นแรงดันที่เกิดขึ้นภายในอันเนื่องมาจากน้ำแพร่เข้าไป
- แรงดันเต่งสูงสุดจะมีค่าเท่ากับแรงดันออสโมติกของสารละลาย
- แรงดันเต่งมีความสำคัญมากในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะทำให้เซลล์สามารถรักษารูปร่างได้ เช่น การรักษารูปร่าง ลักษณะของเซลล์สัตว์ หรือในพืช การที่ใบกางเต็มที่ ยอดตั้งตรงดี ใบฝักกรอบ เนื่องจากภายในเซลล์มีแรงดันเต่งมากนั่นเอง
ประเภทของสารละลายที่เกี่ยวข้องกับออสโมซิส แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. สารละลายไฮเปอร์โทนิก ( Hypertonic solution ) สลล. ที่มีความเข้มข้นสูง เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในสภาวะที่มีสารละลายไฮเปอร์โทนิกอยู่ล้อมรอบ
เยื่อหุ้มเซลล์จะหดตัวและเหี่ยวแฟบลง เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์
เราเรียกขบวนการแพร่ของน้ำออกมาจาก cytoplasm และมีผลทำให้เซลล์มีปริมาตรเล็กลงนี้ว่า พลาสโมไลซิส ( Plasmolysis )

2. สารละลายไฮโปโทนิก ( Hypotonic solution )
สารละลาย ที่มีความเข้มข้นต่ำ เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสลล. ภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในภาวะที่มีสารละลายไฮโปโทนิกล้อมรอบ เซลล์จะขยายขนาด หรือมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการแพร่ของน้ำ จากสารละลายภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์ และทำให้เซลล์เกิดแรงดันเต่งเพิ่มขึ้น
เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พลาสมอบไทซิส ( Plasmoptysis) หรือ เอนโดสโมซิส ( Endosmosis)
ผลจากการเกิดพลาสมอบไทซิส ระหว่างเซลล์สัตว์และเซลล์พืช จะแตกต่างกัน คือ
1. ในกรณีของเซลล์สัตว์
เช่น ถ้านำเซลล์เม็ดเลือดแดงมาใส่ลงในน้ำกลั่น ( ไฮโปโทนิก ต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง )น้ำจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ทำให้เกิดแรงดันเต่งภายในเซลล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณน้ำที่แพร่เข้าไป จนถึงจุดหนึ่งจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกออก
การแตกของเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อแช่อยู่ในสารละลายไฮโปโทนิก เรียกว่า ฮีโมไลซิส ( Haemolysis )
2. ในกรณีของเซลล์พืช เช่น เซลล์ของเยื่อหอม
. ของขบวนการเกิดก็เช่นเดียวกันกับในเซลล์สัตว์ แต่เซลล์พืชจะไม่แตกออก เนื่องจากผนังเซลล์ (cell wall )
3. สารละลายไอโซโทนิก ( Isotonic solution )
- สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
- ดังนั้น เซลล์ที่อยู่ในภาวะที่มีสารละลายไอโซโทนิกล้อมรอบ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น
- ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะการคงรูปร่างของเซลล์สัตว์

photosynthesis