วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การออสโมซีส

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 2
เรื่อง การออสโมซีส


คำสั่ง ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของคำว่า การออสโมซีสได้
2. ทดลองการเกิดการออสโมซีสได้
3. ยกตัวอย่างและอธิบายการออสโมซีสในชีวิตประจำวันได้

ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง

วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. สารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40 % 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3. น้ำหมึกแดง 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร
4. ยางรัด 2 เส้น
5. กระดาษเซลโลเฟน ขนาด 15 ซ.มx15ซ.ม 1 แผ่น
6. หลอดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซ.ม ยาว 20 ซ.ม. 1 อัน
7. กล่องพลาสติกเบอร์ 1 1 ใบ
8. บิกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
9. หลอดฉีดยา 1 อัน
10.ขาตั้งพร้อมที่จับ 1 ชุด



วิธีทดลอง
1. ใช้กระดาษเซลโลเฟนชุบน้ำให้เปียกวางบนกล่องพลาสติกเบอร์ 1 แล้วใส่สารละลาย
น้ำตาลทรายเข้มข้น 40 % จำนวน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตรแล้วรวบให้เป็นถุง
2. จุ่มหลอดแก้วขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตรลงไปในถุงลึกประมาณ
3 เซนติเมตรโดยไม่ให้มีฟองอากาศทั้งในถุงและในแก้ว
3. จุ่มถุงสารละลายน้ำตาลลงในบิกเกอร์ที่มีน้ำบรรจุอยู่โดยให้ตำแหน่งที่รัดปากถุง
อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อยแล้วยึดหลอดแก้วด้วยที่จับหลอดทดลองติดไว้กับขาตั้ง
4. ทำเครื่องหมายแสดงระดับน้ำในหลอดแก้วไว้จากนั้นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงต่อไปประมาณ 5 นาทีแล้วบันทึกผลการสังเกต
5. ดำเนินการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 แต่เปลี่ยนน้ำในบิกเกอร์เป็นน้ำหมึกสีแดง




รูปที่ 3.2.2 แสดงขั้นตอนการทดลองการออสโมซีส
( ดร. บัญชา แสนทวี .หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์.2546 :115 )










แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..

วันที่……………………………
กลุ่มที่………….ชั้น…………….
จุดประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง

การทดลอง การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้

แช่ถุงเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40%ในน้ำ

แช่ถุงเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายน้ำตาลเข้มข้น 40%ในน้ำหมึกแดง



สรุปผลการทดลอง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


สวัสดีครับ หลังจากเรียนบทเรียนเรื่อง การออสโมซีส
แล้วพอจะเข้าใจเนื้อหาหรือยัง ลองทบทวนความรู้อีกครั้งโดยการ
จัดทำใบงานของกลุ่ม ช่วยกันคิดนะครับ
(ถ้ายังไม่เข้าใจโปรดอ่านใบความรู้ทบทวนอีกครั้ง)

ใบงานที่ 1 เรื่อง การออสโมซีส

1. น้ำและหมึกแดงซึมผ่านกระดาษเซลโลเฟนเข้าไปในถุงสารละลายน้ำตาลได้หรือไม่สังเกตได้จากอะไร
.............................................................................................................................................................
2. นักเรียนคิดว่าอนุภาคของน้ำในบิกเกอร์และน้ำหมึกสีแดงในบิกเกอร์อนุภาคน้ำที่ใดมีมากกว่ากัน ……………………………………………………………………………………………………….
3.ถ้าต้องการให้ระดับสารละลายน้ำตาลในหลอดแก้วสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็วนักเรียน
จะออกแบบการทดลองอย่างไร ………………………………………………………………………………………………..…… 4.น้ำและแร่ธาตุเคลื่อนที่เข้าในเซลล์ขนรากด้วยวิธีใด
……………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………….
5.ให้ยกตัวอย่างการออสโมซีสในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรอีกบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………………
6. นักเรียนคิดว่าการใส่ปุ๋ยพืชทีละมากๆ น่าจะเกิดผลดีหรือผลเสีย อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7. นักเรียนคิดว่าขนรากจะดูดซึมแร่ธาตุเข้าไปด้วยวิธีการเดียวกับน้ำหรือไม่ อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
8. การทดลองนี้สรุปได้ว่าอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบย่อย( 10 คะแนน )

1. การออสโมซีส ต่างจากการแพร่อย่างไร
ก.ออสโมซีสเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเยื่อบางๆ
ข.การแพร่เกิดจากสารเคลื่อนที่จากโมเลกุลมากไปสู่ที่มีโมเลกุลน้อย
ค.การแพร่ไม่ต้องผ่านเยื่อบางๆก็ได้แต่การออสโมซีสต้องผ่านเยื่อบางๆ
ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการแพร่
ก. การละลายของสี
ข. การได้กลิ่นน้ำหอม
ค. ลูกเหม็นไล่แมลงสาบ
ง. การไหลของน้ำไปตามท่อ
3. การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งละมากๆ ในกระถางต้นไม้ จะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. ต้นไม้ได้อาหารเลี้ยงลำต้นเต็มที่
ข. ต้นไม้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว
ค. เป็นการให้แร่ธาตุแก่พืชอย่างถูกวิธี
ง. ต้นไม้จะเหี่ยวเนื่องจากขาดน้ำมาเลี้ยง
4. เมื่อนักเรียนเปิดฝาขวดน้ำหอมทิ้งไว้สักครู่ แล้วเข้าไปในห้องจะได้กลิ่นน้ำหอมกระจายไปทั่วห้อง กระบวนที่ทำให้น้ำหอมกระจายไปทั่วห้องเป็นกระบวนการใด
ก. การแพร่
ข. การระเหยแห้ง
ค. การระเหิด
ง. การออสโมซีส 5. การที่แม่ค้าเอาน้ำพรมผลไม้ ( เงาะ ) ทำให้ผลไม้สดอยู่เสมอ กระบวนการที่ทำให้ผลไม้สดอยู่เสมอคือข้อใด
ก. การแพร่
ข. การซึมผ่าน
ค. การระเหย
ง. การออสโมซีส
ใช้ชุดการทดลองเกี่ยวกับการแพร่ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 3 – 4


1.หย่อนเกล็ดด่างทับทิม2. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม3. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม
3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม.3 เกล็ด ขนาด 0.5 ม.ม. 3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม
ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.

6. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะทั้งสาม จะเกิดการแพร่จนอยู่ในภาวะสมดุล นักเรียนคิดว่าเกล็ดด่างทับทิม ในภาชนะใดจะอยู่ในภาวะสมดุลเร็วที่สุดและภาชนะใดช้าที่สุด
ก. 3 , 1
ข. 1 , 2
ค. 3 , 2
ง. 1 , 3





7. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะใบที่ 2 ใช้เวลาในการแพร่จนถึงภาวะสมดุลต่างจากภาชนะใบที่ 1 เนื่องจากปัจจัยใด
ก. ขนาดของเกล็ดด่างทับทิม
ข. จำนวนของเกล็ดด่างทับทิม
ค. ความเข้มข้นของสารละลาย
ง. อุณหภูมิของสารละลาย
สถานการณ์ บรรจุสารละลายน้ำตาลทราย เกลือแกงและน้ำตาลกลูโคสเข้มข้นอย่างละ 30 % ลงในถุงกระดาษเซลโลเฟน ผูกปากถุงให้แน่น แล้วนำไปแช่น้ำดังรูปเป็นเวลา 20 นาที



8. ถุงกระดาษเซลโลเฟนที่บรรจุสารละลายชนิดใดจะพองออกเนื่องจากน้ำออสโมซีสเข้าสู่ถุง
ก. สารละลายน้ำตาลและสารละลายเกลือแกง
ข. สารละลายน้ำตาลและสารละลายกลูโคส
ค. สารละลายเกลือแกงและสารละลายกลูโคส
ง. ทั้ง 3 ชนิด


9. สารละลายในถุงใดที่ผ่านเยื่อกระดาษเซลโลเฟนออกมาภายนอกได้
ก. สารละลายน้ำตาลทราย
ข. สารละลายเกลือแกง
ค. สารละลายกลูโคส
ง. สารละลายเกลือแกงและกลูโคส

10. การคายน้ำของพืชในรูปของไอน้ำที่บริเวณปากใบจะใช้วิธีใด
ก. การออสโมซีส
ข. การระเหย
ค. การแพร่
ง. กัตเตชั่น

แบบฝึกปฏิบัตกิจกรรมเรื่องการแพร่และการออสโมซีส

แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองที่ 1
การแพร่ของสาร


แนวปฏิบัติ ให้นักเรียนทำ แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง บันทึกผลการทดลอง
สรุปผลการทดลองและทำแบบฝึกหัดท้ายกิจกรรม โดยทำลงในแบบบันทึกกิจกรรมกลุ่มแล้วนำส่งครูเพื่อเก็บคะแนนกลุ่ม (10 คะแนน )
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายการเกิดกระบวนการแพร่ได้
2.ยกตัวอย่างการแพร่ที่พบในชีวิตประจำวัน
ทักษะที่ต้องการให้เกิด
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 1 ใบ
2. เกล็ดด่างทับทิม (โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต) 3-4 เกล็ด
3. น้ำกลั่น 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีทดลอง
1. ใส่น้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ประมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. ใส่เกล็ดด่างทับทิม 2-3 เกล็ดลงในน้ำ สังเกตและบันทึกผล
3. สังเกตสีของน้ำหลังจากใส่เกล็ดด่างทับทิมแล้วทุกนาที เป็นเวลา 5 นาที บันทึกผล

รูปที่ 3.1 แสดงการทดลองการแพร่ของสาร
( ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์.2544 :19 )


แบบบันทึกกิจกรรมกลุ่ม
แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทดลองเรื่อง…………………………..

วันที่…………………………
กลุ่มที่………….ชั้น………….
จุดประสงค์
…………………………………………………………………………………………………………………………………………
วัสดุอุปกรณ์
……………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกผลการทดลอง

ช่วงเวลาที่สังเกต ลักษณะที่สังเกตได้
1.ขณะที่เกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตตกลงไปในน้ำ

2. เมื่อเกล็ดโพแทสเซียม
เปอร์แมงกาเนตตกถึงพื้นก้นบิกเกอร์จนกระทั่งเวลาผ่านไป 5 นาที


สรุปผลการทดลอง
.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
ลองทำใบงานดูหน่อยนะครับ….



สวัสดีครับ หลังจากเรียนบทเรียนเรื่อง การแพร่ของสาร
แล้วพอจะเข้าใจเนื้อหาหรือยัง ลองทบทวนความรู้อีกครั้งโดยการ
จัดทำใบงานของกลุ่ม ช่วยกันคิดนะครับ
(ถ้ายังไม่เข้าใจโปรดอ่านใบความรู้ทบทวนอีกครั้ง)

ใบงานที่ 1 การแพร่ของสาร

1. เมื่อเกล็ดด่างทับทิมตกลงไปในน้ำเกิดอะไรขึ้น
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. เมื่อเกล็ดด่างทับทิมลงไปถึงก้นถ้วยเกิดอะไรขึ้น
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. การเคลื่อนที่ของอนุภาคของด่างทับทิมมีทิศทางแบบใด
……………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
……………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………



แบบทดสอบย่อย
( 10 คะแนน )

จงเขียนวงกลมล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการแพร่
ก. การละลายของสี
ข. การได้กลิ่นน้ำหอม
ค. ลูกเหม็นไล่แมลงสาบ
ง. การไหลของน้ำไปตามท่อ
2. การใส่ปุ๋ยเคมีครั้งละมากๆ ในกระถางต้นไม้ จะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. ต้นไม้ได้อาหารเลี้ยงลำต้นเต็มที่
ข. ต้นไม้เจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว
ค. เป็นการให้แร่ธาตุแก่พืชอย่างถูกวิธี
ง.ต้นไม้จะเหี่ยวเนื่องจากขาดน้ำมาเลี้ยง
3. การแพร่ของสารเข้าสู่เซลล์ ขึ้นอยู่กับสิ่งใด
ก. ชนิดของตัวทำละลาย
ข. ขนาดมวลของอนุภาค
ค. ความหนา-บางของผนังเซลล์
ง.ความแตกต่างของความเข้มข้นของอนุภาค
4. เมื่อนักเรียนเปิดฝาขวดน้ำหอมทิ้งไว้สักครู่ แล้วเข้าไปในห้องจะได้กลิ่นน้ำหอมกระจายไปทั่วห้อง กระบวนที่ทำให้น้ำหอมกระจายไปทั่วห้องเป็นกระบวนการใด
ก. การแพร่
ข. การระเหยแห้ง
ค. การระเหิด
ง. การออสโมซีส

ใช้ชุดการทดลองเกี่ยวกับการแพร่ต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 5 – 6
1. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม2. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม3. หย่อนเกล็ดด่างทับทิม
3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม. 3 เกล็ด ขนาด 0.5 ม.ม.3 เกล็ดขนาด 0.2 ม.ม.
ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม. ลงในน้ำ 40 ล.บ.ซ.ม.
5. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะทั้งสาม จะเกิดการแพร่จนอยู่ในภาวะสมดุล นักเรียนคิดว่าเกล็ดด่างทับทิม ในภาชนะใดจะอยู่ในภาวะสมดุลเร็วที่สุดและภาชนะใดช้าที่สุด
ก. 3 , 1
ข. 1 , 2
ค. 3 , 2
ง. 1 , 3
6. เกล็ดด่างทับทิมในภาชนะใบที่ 2 ใช้เวลาในการแพร่จนถึงภาวะสมดุลต่างจากภาชนะใบที่ 1 เนื่องจากปัจจัยใด
ก. ขนาดของเกล็ดด่างทับทิม
ข. จำนวนของเกล็ดด่างทับทิม
ค. ความเข้มข้นของสารละลาย
ง. อุณหภูมิของสารละลาย


7. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
ก. การแพร่มีได้ทั้งสามสถานะ
ข. ออสโมซสเป็นการแพร่ชนิดหนึ่ง
ค. ออสโมซีสไม่ใช่การแพร่แต่เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อบางชนิด
ง. การแพร่เกิดจากบริเวณที่มีสารเข้มข้นไปยังบริเวณที่สารเจือจางกว่า
8.น้ำและน้ำตาลกลูโคส สารใดจะแพร่ได้เร็วกว่ากัน
ก. น้ำเพราะอนุภาคเล็กกว่า
ข. น้ำตาลกลูโคสเพราะขนาดอนุภาคเล็กกว่า
ค. น้ำ เพราะไหลไปได้รวดเร็วมาก
ง. น้ำตาลกลูโคส เพราะมีพลังงานสูงกว่า
9. สารใดไม่สามารถแพร่ผ่านกระดาษเซลโลเฟนได้
ก. น้ำตาลทรายและเกลืองแกง
ข. น้ำตาลกลูโคส และด่างทับทิม
ค. น้ำและน้ำตาลกลูโคส
ง. ด่างทับทิม และน้ำตาลทราย
10. การแพร่ของสารข้อใดถูกต้อง
ก. การแพร่ คือการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณ ที่มีความเข้มข้นของสารน้อย
ข. ถ้าอุณหภูมิลดลง การแพร่จะเกิดอย่างรวดเร็ว
ค. สารที่มีอนุภาคเล็กจะแพร่ได้ช้ากว่าสารที่มีขนาดใหญ่
ง. อนุภาคไม่เกี่ยวข้องกับอนุภาคของสาร

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Diffusion and Osmosis

การแพร่และการออสโมซีส

การแพร่และการออสโมซีส
การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
.แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยไม่ใช้พลังงานจากเซลล์ ( passive transport )ได้แก่
การแพร่ ( diffusion ) การแพร่ธรรมดา ( simple diffusion )
การแพร่โดยอาศัยตัวพา ( facilitated diffusion )ออสโมซิส ( osmosis )อิมบิบิชั่น ( Imbibition )
การแลกเปลี่ยนอิออน ( Ion exchange )
1.2 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้พลังงานจากเซลล์ ( active transport )
2. การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มี 3 ลักษณะ คือ
2.1 การนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ ( Endocytosis ) มี 2 วิธี คือ
Pinocytosis
Phagocytosis
3. การนำสารออกนอกเซลล์ ( Exocytosis )
4. การนำสารผ่านเซลล์ ( Cytopempsis )
ออสโมซิส (osmosis)
1. น้ำบริสุทธิ์มีแรงดันออสโมติกต่ำสุด เนื่องจากไม่มีตัวถูกละลายใดๆ เจือปน
2. สารละลายที่มีความเข้มข้นสูง ( ตัวถูกละลายมีจำนวนมาก ) จะมีแรงดันออสโมติกสูง ส่วนสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ ( ตัวถูกละลายมีจำนวนน้อย ) จะมีแรงดันออสโมติกต่ำ
3. น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกต่ำ ไปยังบริเวณที่มีแรงดันออสโมติกสูงต่ำ สูง

การลำเลียงสารโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีหลายวิธี
1. การแพร่ ( diffusion ) การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรืออิออน โดยอาศัยพลังงานจลน์ในตัวเอง จะมีทิศทางการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ จนในที่สุดบริเวณทั้งสองจะมีความเข้มข้นเท่ากัน ซึ่งเรียกว่า สมดุลของการแพร ่ ซึ่งอนุภาค ของสารยังมีการเคลื่อนที่อยู่ แต่ความเข้มข้น หรือ หนาแน่น โดยเฉลี่ยจะเท่ากันทุกบริเวณ
การเคลื่อนที่ของโมเลกุล หรือไอออนของสารจะมีการกระทบกัน เป็นผลให้โมเลกุลกระจายออกไปทุกทิศทางในตัวกลาง เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian movement )

ตัวอย่างการแพร่ของสาร
การแพร่ในของแข็ง เช่น เกล็ดด่างทับทิม และเกล็ดโปตัสเซียมไดโครเมตแพร่ในวุ้น
การแพร่ในของเหลว เช่น โมเลกุลน้ำตาล อิออนของเกลือแพร่ในน้ำ
การแพร่ในก๊าซ เช่น การแพร่ของโมเลกุลน้ำหอมในอากาศ การแพร่ของก๊าซ หรือควันไฟในอากาศ
ปัจจัยที่ควบคุมอัตราการแพร่ของสาร
1. ความเข้มข้นของสารที่แพร่
สารที่มีความเข้มข้นสูง จะแพร่ไปสู่ที่มีความเข้มข้นต่ำ
2. อุณหภูมิ
การเพิ่มอุณหภูมิ จะให้การแพร่เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
3. ความดัน
การเพิ่มความดัน จะทำให้โมเลกุล หรือไอออนของสารเคลื่อนที่
4. ขนาดและน้ำหนักของอนุภาคที่แพร่
ถ้าอนุภาคขนาดเล็กและเบา จะมีอัตราการแพร่เร็วกว่าสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่และหนัก
5. ความหนาแน่นของตัวกลาง
สารที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่แพร่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน อัตราการแพร่จะไม่เท่ากัน
เช่น การแพร่ในอากาศจะมีอัตราการแพร่สูงกว่าในน้ำ เพราะน้ำมีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ
6. ความสามารถในการละลายของสารที่แพร่
สารที่ละลายได้ดี จะมีอัตราการแพร่สูงกว่าสารที่ละลายได้น้อย

2. ออสโมซิส ( Osmosis )
การแพร่ของ ของเหลว หรือการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน ( differentially permeablemembrane)
โดยทิศทางการแพร่เป็นไปตามหลักการแพร่ทั่วๆ ไป คือ “ น้ำจะแพร่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำมาก ( สารละลายเจือจาง ไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นของน้ำน้อย ( สารละลายเข้มข้น )
จนกระทั่งถึงจุดสมดุล เมื่ออัตราการแพร่ผ่านเยื่อเลือกผ่านไปและกลับ มีค่าเท่าๆ กัน ดังนั้นออสโมซิสจึงถือได้ว่าเป็นการแพร่อย่างหนึ่ง
ออสโมมิเตอร์ ( osmometer ) เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงการเกิดออสโมซิส และสามารถใช้วัดแรงดันที่เกิดจากขบวนการออสโมซิสได้อีก แรงดันออสโมติก ( osmotic pressure ) คือ ความดันที่ทำให้เกิดออสโมซิสของน้ำ- แรงดันดังกล่าวศึกษาได้จากชุดออสโมมิเตอร์อย่างง่าย
การที่มีของเหลวเคลื่อนที่ขึ้นไปในหลอดกาแฟ
เนื่องจากน้ำในบีกเกอร์แพร่ผ่านเยื่อไข่เข้าไปในฟองไข่ แรงดันภายในที่เพิ่มขึ้นจึงดันของเหลว ให้เคลื่อนเข้าไปในหลอด
แรงดันที่เกิดขึ้นภายในอันเนื่องจาก น้ำแพร่เข้าไปนี้เทียบได้กับแรงดันเต่งภายในฟองไข่
ถ้าไม่มีการเจาะเปลือก เยื่อที่เปลือกไข่จะพองเป่งมากขึ้น เพราะมีแรงดันเต่งมาก ในการที่เจาะเปลือกไข่จึงวัดแรงดันเต่งได้จากระดับของเหลวที่ถูกดันขึ้นไปในหลอด แรงดัน นี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสภาวะสมดุลของการแพร่ ซึ่งอาจใช้เวลานานมาก และจะต้องต่อหลอดให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงระยะหนึ่ง ระดับของเหลวในหลอดจะคงที่ ในสภาวะเช่นนี้ แรงดันเต่งจะมีค่าสูงสุด

น้ำจากภายนอกแพร่เข้าสู่ภายใน เท่ากับ น้ำจากภายในแพร่ออกสู่ภายนอก
- แรงดันเต่งมีค่าสูงสุด = แรงดันออสโมติก
- แรงดันเต่ง ( Turgor pressure ) เป็นแรงดันที่เกิดขึ้นภายในอันเนื่องมาจากน้ำแพร่เข้าไป
- แรงดันเต่งสูงสุดจะมีค่าเท่ากับแรงดันออสโมติกของสารละลาย
- แรงดันเต่งมีความสำคัญมากในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เพราะทำให้เซลล์สามารถรักษารูปร่างได้ เช่น การรักษารูปร่าง ลักษณะของเซลล์สัตว์ หรือในพืช การที่ใบกางเต็มที่ ยอดตั้งตรงดี ใบฝักกรอบ เนื่องจากภายในเซลล์มีแรงดันเต่งมากนั่นเอง
ประเภทของสารละลายที่เกี่ยวข้องกับออสโมซิส แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. สารละลายไฮเปอร์โทนิก ( Hypertonic solution ) สลล. ที่มีความเข้มข้นสูง เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในสภาวะที่มีสารละลายไฮเปอร์โทนิกอยู่ล้อมรอบ
เยื่อหุ้มเซลล์จะหดตัวและเหี่ยวแฟบลง เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำออกจากเซลล์
เราเรียกขบวนการแพร่ของน้ำออกมาจาก cytoplasm และมีผลทำให้เซลล์มีปริมาตรเล็กลงนี้ว่า พลาสโมไลซิส ( Plasmolysis )

2. สารละลายไฮโปโทนิก ( Hypotonic solution )
สารละลาย ที่มีความเข้มข้นต่ำ เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสลล. ภายในเซลล์
ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในภาวะที่มีสารละลายไฮโปโทนิกล้อมรอบ เซลล์จะขยายขนาด หรือมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการแพร่ของน้ำ จากสารละลายภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์ และทำให้เซลล์เกิดแรงดันเต่งเพิ่มขึ้น
เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พลาสมอบไทซิส ( Plasmoptysis) หรือ เอนโดสโมซิส ( Endosmosis)
ผลจากการเกิดพลาสมอบไทซิส ระหว่างเซลล์สัตว์และเซลล์พืช จะแตกต่างกัน คือ
1. ในกรณีของเซลล์สัตว์
เช่น ถ้านำเซลล์เม็ดเลือดแดงมาใส่ลงในน้ำกลั่น ( ไฮโปโทนิก ต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง )น้ำจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ทำให้เกิดแรงดันเต่งภายในเซลล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณน้ำที่แพร่เข้าไป จนถึงจุดหนึ่งจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์แตกออก
การแตกของเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อแช่อยู่ในสารละลายไฮโปโทนิก เรียกว่า ฮีโมไลซิส ( Haemolysis )
2. ในกรณีของเซลล์พืช เช่น เซลล์ของเยื่อหอม
. ของขบวนการเกิดก็เช่นเดียวกันกับในเซลล์สัตว์ แต่เซลล์พืชจะไม่แตกออก เนื่องจากผนังเซลล์ (cell wall )
3. สารละลายไอโซโทนิก ( Isotonic solution )
- สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์
- ดังนั้น เซลล์ที่อยู่ในภาวะที่มีสารละลายไอโซโทนิกล้อมรอบ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น
- ซึ่งมีความสำคัญมากในสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะการคงรูปร่างของเซลล์สัตว์

photosynthesis

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สาหร่ายหางกระรอก ปากใบ

plant cell and animal cell

ข้อสอบก่อนเรียน - หลังเรียน

ข้อสอบก่อนเรียน- หลังเรียน ชุดที่ 1

1.สิ่งใดเป็นเกณฑ์การจำแนกสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกันกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

a.จำนวนเซลล์
b.ขนาดของเซลล์
c.รูปร่างของเซลล์
d.ส่วนประกอบของเซลล์

2.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีสิ่งใดที่เหมือนกัน

a.ขนาดของเซลล์
b.รูปร่างของเซลล์
c.ความแข็งของเซลล์
d.ส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์

3.เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกันสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

a.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีความแข็งของเซลล์มากกว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
b.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
c.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีรูปร่างเซลล์ที่เหมือนกัน ส่วนสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีรูปร่างเซลล์ที่แตกต่างกัน
d.สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีเพียงเซลล์เดียวก็ดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ต้องมีเซลล์มารวมกลุ่มกันจึงจะดำรงชีวิตอยู่ได้

4.ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบในเซลล์พืชแต่ไม่พบในเซลล์สัตว์คืออะไร

a.นิวเคลียส
b.เยี่อหุ้มเซลล์
c.ไซโทพลาซึม
d.คลอโรพลาสต์


5.ส่วนประกอบของเซลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืชคืออะไร

a.ผนังเซลล์
b.นิวเคลียส
c.เยี่อหุ้มเซลล์
d.ไซโทพลาสซึม

6.สารที่ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช พบในส่วนประกอบใด

a.นิวเคลียส
b.เยี่อหุ้มเซลล์
c.ไซโทพลาสซึม
d.คลอโรพลาสต์

7.ส่วนประกอบใดของพืชที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน

a.ผนังเซลล์
b.นิวเคลียส
c.เยี่อหุ้มเซลล์
d.โซโทพลาซึม

8.ส่วนประกอบของเซลล์พืชส่วนใดที่ทำหน้าที่คล้ายยาม

a.ผนังเซลล์
b.นืวเคลียส
c.เยี่อหุ้มเซลล์
d.ไซโทพลาซึม

9.เซลล์ข้อใดที่ไม่มีนิวเคลียสเป็นส่วนประกอบ

a.เซลล์ประสาท
b.เซลล์กล้ามเนื้อ
c.เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
d.เซลล์เม็ดเลือดแดง

10.ข้อใดที่เซลล์สัตว์ไม่มี

a.ผนังเซลล์
b.นิวเคลียส
c.เยื่อหุ้มเซลล์
d.ไซโทพลาสซึม

กิจกรรมที่2

กิจกรรมที่ 2
เรื่องโครงการสร้างของเซลล์
อุปกรณ์
1. หัวหอม 1 หัว
2. สาหร่ายหางกระรอก 1 สาย
3. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 ชุด
4. ใบมีดโกน 1 ชุด
5. ไม้จิ้มฟัน 1 กล่อง
6. กล้องจุลทรรศน์ 1 กล้อง
7. หลอดหยด 1 อัน
8. น้ำ 10 cm 3
9. โซเดียมคลอไรด์ 10 cm 3
10. เอทิลแอลกอฮอล์ 70% 10 cm 3

วิธีดำเนินการทดลอง
1. ศึกษาเซลล์ของเยื่อหอม
1.1 หยดน้ำลงบนสไลด์ 1-2 หยดให้พอท่วม
1.2 ลอกเยื่อด้านในของกลีบหัวหอม วางลงบนหยดน้ำ แล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ ระหวังอย่าให้มีฟองอากาศ
1.3 ย้อมสีเยื่อหอมโดยหยดสารละลายไอโอดี 1 หยด
1.4 นำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ และกำลังขยายสูงตามลำดับ วาดรูปและชี้ส่วนประกอบของเซวล์ลงในบันทึกผลการทดลอง
2. ศึกษาเซลล์ของสาหร่ายหางกระรอก โดยนำใบอ่อนบริเวณยอดมาวางบนหยดน้ำบน
สไลด์ ปิดทับด้วยกระจกปิดสไลด์ และดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ 1.4
3. ศึกษาเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
3.1 หยดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลงบนสไลด์ 1 หยด
3.2 ใช้ปลายไม้จิ้มฟันด้านป้านจุ่มเอทิลแอลกอฮอล์ 70% ทิ้งไว้ให้แห้งสักครู่ นำไปขูดเบา ๆ ที่ผิวเยื่อบุข้างแก้มในปาก แล้วนำมาเกลี่ยให้กระจายบนสไลด์
3.3 ดำเนินการเช่นเดียวกับ ข้อ 1.3 และ 1.4

หมายเหตุ
1.ใบสาหร่ายหางกระรอกที่ใช้ในการทดลองต้องเป็นใบอ่อน เพื่อจะได้เห็นโครงสร้างภายในได้ชัดเจน
2.สาหร่ายหางกระรอกที่นำมาใช้ในการทดลองแต่ละต้นจะต้องให้ส่วนยอดอ่อนติดมาด้วย และควรแช่ไว้ในน้ำตลอดเวลา
3. หัวหอมที่ใช้ในการทดลองให้ใช้ส่วนเยื่อที่อยู่ด้านในของหัวหอม โดยค่อย ๆ ดึงแต่ละชั้นออกมา
4.การหยดน้ำหรือสารละลายชนิดต่าง ๆ ลงบนสไลด์ให้หยดพอท่วม อย่าให้เลอะออกมานอกกระจกปิดสไลด์ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ล้างและเช็ดสไลด์ กระจกปิดสไลด์ให้สะอาดและแห้งก่อนเก็บ
5.กล้องจุลทรรศน์ให้วางในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และปรับกระจกใต้กล้องเพื่อให้แสงสว่างผ่านเข้าสู่ลำกล้องให้พอเหมาะ
6.กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ที่เหมาะสมในการทดลองนี้ คือ 400 เท่า

















แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 2
เรื่อง โครงสร้างของเซลล์

วันที่.............เดือน............................พ.ศ..................
กลุ่มที่.............
ผู้ทดลอง
..........................................................................................................................................................................
ผู้ร่วมทดลอง
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
จุดประสงค์การทดลอง
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
อุปกรณ์และสารเคมี
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ตารางบันทึกผลการทดลอง
เซลล์ที่นำมาศึกษา ภาพของเซลล์ ส่วนประกอบที่พบ
• เยื่อหอม


• สาหร่ายหางกระรอก

• เยื่อบุข้างแก้ม


สรุปผลการทดลอง
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

คำถามท้ายการทดลอง
1.ภาพของเซลล์เยื่อหอม สาหร่ายหางหระรอก และเยื่อบุข้างแก้ม มีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนใดที่เหมือนกัน
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3.เซลล์พืชมี่ส่วนประกอบใดที่ไม่พบในเซลล์สัตว์
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

กิจกรรมที่1

กิจกรรม ที่ 1
เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์

วิธีดำเนินการทดลอง
1. ใช้มือที่ถนัดจับแขนของกล้องจุลทรรศน์ อีกมือรองรับน้ำหนักที่ฐานกล้องวางกล้องลงบนโต๊ะพื้นเรียบ
2. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำมาไว้ตรงตำแหน่งวัตถุที่จะดู
3. ปรับกระจกใต้กล้องเพื่อรับแสงสว่างที่พอเหมาะให้ผ่านเข้าสู่ช่องรับแสง เตรียมสไลด์โดยหยดน้ำลงบนแผ่นสไลด์ที่มีพยัญชนะรูปตัว C ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ วางสไลด์ลงบนแผ่นให้ตรงกับช่องรับแสง
4. มองด้านข้างของแท่นวางวัตถุในแนวระนาบ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้เลนส์เลื่อนห่างจากสไลด์ จนกระทั่งมองเห็นภาพของวัตถุ
5. มองผ่านเลนส์ใกล้ตาโดยลืมตาทั้ง 2 ข้าง หมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้เลนส์เลื่อนห่างจากสไลด์ จนกระทั่งมองเห็นภาพของวัตถุ
6. หมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
7.ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นโดยหมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายปานกลางและกำลังขยายสูงเข้ามาไว้ตรงตำแหน่งวัตถุที่จะดูตามลำดับ ปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด
( ห้ามใช้ปุ่มปรับภาพหยาบกับเลนส์วัตถุที่มีกำลังขยายสูง)
8. บันทึกกำลังขยายของภาพวัตถุจากำลังขยายของเลนส์ใกล้ตาคูณด้วยกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ
9. บันทึกภาพที่ปรากฎจากกล้องจุลทรรศน์







แบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่ 1
เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์

วันที่.........เดือน..........................พ.ศ..................
กลุ่มที่........

ผู้ทดลอง
..........................................................................................................................................................................
ผู้ร่วมทดลอง
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
จุดประสงค์การทดลอง
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
อุปกรณ์และสารเคมี
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ลักษณะภาพที่ปรากฏจากกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยายภาพ



สรุปผลการทดลอง
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................คำถามท้ายการทดลอง
1.ภาพที่ได้จากการสังเกตผ่านกล้องจุลทรรศน์มีลักษณะเหมือนหรือต่างจากภาพที่นำมาทดลองอย่างไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.กำลังขยายของภาพมีค่าเท่าไร
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................